องค์การบริหารส่วนตำบลตาเนิน อำเภอเนินสง่า จังหวัดชัยภูมิ : www.tanern.go.th

 
 
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ

วิสัยทัศน์

“การศึกษาเป็นเลิศ  เกษตรอินทรีย์ก้าวหน้า  พัฒนาคุณภาพชีวิต  น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง”

 พันธกิจการพัฒนาท้องถิ่น

1) การสร้างพัฒนาเส้นทางคมนาคมทั้งสัญจรและลำเลียงพืชผลทางการผลิตจากการเกษตร            

จะต้องพัฒนาให้ได้มาตรฐาน  เพื่อประชาชนจะได้ใช้สะดวก ไม่ชะงักหรือติดขัด  เมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยจากธรรมชาติ  สามารถใช้สัญจรได้ตลอดเวลา  โดยไม่เสียหายต่อการประกอบอาชีพและคมนาคม

2) การปรับปรุงและพัฒนาแสงสว่างทุกหมู่บ้าน โดยดำเนินการขยายเขตไฟฟ้าให้ทั่วถึงเพื่อ

จะได้ใช้ได้เต็มพื้นที่สำหรับชีวิตประจำวันของประชาชน  และประกอบอาชีพและบริเวณที่เป็นจุดล่อแหลมตามแหล่งต่างๆ  ที่ความสว่างไม่เพียงพอจะต้องติดตั้งให้เพียงพอและทั่วถึงทั้งในชุมชนและเส้นทางการคมนาคม

3) ปรับปรุงและพัฒนาระบบสาธารณูปโภค น้ำอุปโภค – บริโภคที่สะอาด  ก่อสร้าง  พัฒนา  

ปรับปรุง  ขยายเขตทั้งประปาภูมิภาค  และหมู่บ้านให้เพียงพอและทั่วถึง  ก่อสร้างจัดหาภาชนะและซ่อมแซมให้ใช้การได้

4) การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการโทรศัพท์สาธารณะ  และการขยายคู่สายโทรศัพท์ขอ

ความร่วมมือสนับสนนุงบประมาณติดตั้งขยายเขตและซ่อมแซมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เพื่อให้ประชาชนได้มีใช้อย่างพอเพียง

5) การพัฒนาศักยภาพการประกอบอาชีพของเกษตรกรที่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรง

ชีพให้มีรายได้เพิ่มขึ้นโดยจัดฝึกอบรมอาชีพ  สนับสนุนงบประมาณและตลาดจำหน่ายสินค้า  ส่งเสริมชุมชนให้ผลิตสินค้าตามที่ตลาดต้องการ

6) การพัฒนาการเกษตร  ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาบำรุง  ความอุดม

สมบูรณ์ของแหล่งผลิต  และการใช้ปุ๋ยสารอินทรีย์ ที่ผลิตจากวัตถุในชุมชน  โดยการเรียนรู้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

7) การรวมกลุ่มของอาชีพต่างๆ  การจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์  พลังมวลชน  เยาวชน  ให้เข้มแข็ง

และยั่งยืน  คอยป้องกันภัยคุกคามต่างๆ  ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมให้มีความปลอดภัย  

8) ส่งเสริมและสนับสนุนขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม ให้ก้าวหน้าและ

แพร่หลาย  จัดตั้งกลุ่มขึ้นมารับผิดชอบสนับสนุนงบประมาณ

9) ส่งเสริมและพัฒนาการกีฬาและการออกกำลังกาย  จัดการแข่งขันกีฬาและการออก

กำลังกายอย่างต่อเนื่อง  จัดหาผู้ฝึกสอนกีฬา  เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการเล่นกีฬาอย่างถูกต้องแก่เยาวชน  เพื่อจะได้ก้าวไปสู่ระดับที่สูงขึ้น  การออกกำลังกายสร้างสุขภาพให้แก่ประชาชนที่สนใจทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ

10) สร้างและจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก  ก่อสร้าง  ขุดลอก  ซ่อมแซม  ให้สามารถเก็บ

กักน้ำเพื่อการเกษตรยามขาดแคลน  และนำน้ำจากต้นน้ำเข้าสู่พื้นที่การเกษตรให้พอเพียงและทั่วถึง

      11) ปรับปรุงและพัฒนาระบบทางระบายน้ำตามแหล่งน้ำที่ประชาชนใช้เป็นเส้นทางเข้าพื้นที่การเกษตรชำรุดหรือเสียหายบ่อยๆ  จะต้องก่อสร้างเป็นอาคารหรือสะพานให้คงทนถาวร  ทนสภาพ         การระบายน้ำได้สะดวก  รวดเร็ว  สอดคล้องกับประมาณน้ำที่ไหลเข้า – ออก

      12) ปรับปรุงพื้นที่การเพาะปลูกขาดความอุดมสมบูรณ์  เนื่องจากสภาพดินเค็มให้มีความอุดมสมบูรณ์โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

               13) การพัฒนาศักยภาพภูมิปัญญาของท้องถิ่นที่มีอยู่ตามหมู่บ้านต่าง ๆ ของคนรุ่นเก่า ให้ถ่ายทอดแก่คนรุ่นหลังโดยตั้งกลุ่มให้เรียนรู้และพัฒนาให้เป็นอาชีพและรายได้

               14) การสร้างระบบการทำลายขยะและปรับปรุงสถานที่ทิ้งขยะมูลฝอยให้รองรับปริมาณและให้เป็นระเบียบเรียบร้อย  รณรงค์  ประชาสัมพันธ์  ให้ทุกครัวเรือนได้ตระหนักถึงมลภาวะและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน

      15) ปรับปรุงและพัฒนาระบบการระบายน้ำตามหมู่บ้านที่เกิดท่วมขังในฤดูฝนตก ก่อสร้างรางระบายน้ำหรือร่องระบายน้ำให้ทันต่อปริมาณน้ำใช้และน้ำฝน

      16)  ส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกต้นไม้ตามโครงการและกิจกรรมต่างๆ บริเวณที่สาธารณประโยชน์  วัด  สถานที่ราชการและที่ไร่นา  สวน  เพื่อเป็นแหล่งอาหาร  ร่มรื่น  รักษาภูมิทัศน์  รักษาความสมดุลทางธรรมชาติ

      17) ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กตั้งแต่การเตรียมความพร้อมก่อนการศึกษาชั้นประถม ให้ได้รับความรู้ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปให้ทันสมัย  สนับสนุนทุนการศึกษา  จัดกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องการพัฒนาการเรียน  การสอน  ตั้งแต่อนุบาล  จนถึงชั้นประถมศึกษา  สนับสนุนอาหารกลางวัน  วัสดุอุปกรณ์  การเรียน  การศึกษา  ทั้งในและนอกระบบ

      18) จัดทำสวนพักผ่อนสาธารณะและสนามเด็กเล่นเพื่อให้เด็กและประชาชนทั่วไปได้มาพบปะและนันทนาการ

      19) จัดสร้างเวทีสาธารณะเพื่อเป็นที่จัดกิจกรรมต่างๆ  ของชุมชนเป็นศูนย์รวมที่ถาวรของตำบลให้มีมาตรฐานและการใช้งานหลายๆ โอกาส

      20) ก่อสร้างศูนย์กิจกรรมรวมตำบลให้ครบวงจร  เพื่อเผยแพร่กิจกรรมของตำบลทุกๆ ด้านของทุกหมู่บ้าน  ประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้ที่สัญจรผ่านไปมาได้ทราบและโดยเฉพาะสินค้าชุมชนและบริการภูมิปัญญาที่จะสามารถทำรายได้

     21) จัดทำแหล่งธรรมชาติให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว  โดยปรับปรุงพัฒนาให้สามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่ให้เป็นรายได้และเพิ่มอาชีพให้แก่คนในชุมชน

22) ปรับปรุงการบริการให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว และบริการด้านเทคโนโลยี

สมัยใหม่ให้ประชาชนได้เรียนรู้  พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพพนักงาน  เจ้าหน้าที่ให้มีความรู้  ปรับปรุงสถานที่ราชการให้สามารถให้บริการหลายๆ  ด้าน  ภูมิทัศน์ทั้งนอกและในอาคารสำนักงานให้ดูเหมาะสมสะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ